24 สารท

24 สารท

1 ใบไม้ผลิ

ฤดูใบไม้ผลิ (春天ชุนเทียน)

1. ลี่ชุน(立春)เริ่มฤดูใบไม้ผลิ อากาศหนาวเริ่มคลายตัวลง เริ่มประมาณวันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ ดวงอาทิตย์ทำมุม 315°

2. อวี๋สุ่ย(雨水) อวี๋สุ่ยแปลว่าน้ำฝน ในช่วงนี้ฝนจะเริ่มตกในประเทศจีน เริ่มประมาณวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ ดวงอาทิตย์ทำมุม 330°

3. จิงเจ๋อ(惊蛰)แปลว่าตื่นจากฤดูจำศีล คำแปลของปักษ์นี้ก็เป็นไปตามเหตุการณ์ที่พบเห็น นั่นคือแมลงหรือสัตว์ที่จำศีลอยู่จะเริ่มตื่นขึ้นเพื่อจะออกมาหาอาหาร ฝนตกชุกฟ้าคะนอง เริ่มประมาณวันที่ 5-7 มีนาคม ดวงอาทิตย์ทำมุม 345°

4. ชุนเฟิน(春分)แปลว่า คืนและวันในฤดูใบไม้ผลิที่ยาวเท่ากัน ตรงกับวัน วสันตวิษุวัต ตามดาราศาสตร์สากล เริ่มประมาณวันที่ 20-21 มีนาคม ดวงอาทิตย์ทำมุม 0° ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรครั้งแรกของปี

5. ชิงหมิง(清明) แปลว่าแจ่มใส ปักษ์ชิงหมิง หรือที่คนไทยคุ้นกับสำเนียงแต้จิ๋วว่า เช็งเม้ง ชิงหมิงจึงเป็นปักษ์ที่มีอากาศสดชื่นแจ่มใส นิยมไปไหว้บรรพบุรุษ เริ่มประมาณวันที่ 4-6 เมษายน ดวงอาทิตย์ทำมุม 15°

6. กู๋อวี่(谷雨)แปลว่า ฝนธัญพืช หรือฝนช่วยเพาะปลูก เริ่มประมาณวันที่ 19-21 เมษายน ดวงอาทิตย์ทำมุม 30°

Pic credit to: http://www.oamul.com/the-24-solar-terms/

2 ร้อน

ฤดูร้อน夏天 ซย่าเทียน

1. ลี่เซี่ย (立夏) เริ่มต้นฤดูร้อนเริ่มประมาณวันที่
5-7 พฤษภาคม ดวงอาทิตย์ทำมุม 45°

2. เสียวหม่าน(小满)แปลว่า เมล็ดพันธุ์อุดม ข้าวเริ่มออกรวง เริ่มประมาณวันที่ 20-22 พฤษภาคม ดวงอาทิตย์ทำมุม 60°

3. หมางจ้ง(芒种)แปลว่า หว่านเพาะ ข้าวเริ่มแก่ ชาวจีนก็จะเตรียมตัวเก็บเกี่ยวและปลูกข้าวใหม่ เริ่มประมาณวันที่ 4-5 มิถุนายน ดวงอาทิตย์ทำมุม 75°

4. เซี่ยจื้อ(夏至)แปลว่า วันยาวที่สุดในฤดูร้อน ตรงกับวัน ครีษมายัน ตามดาราศาสตร์สากล เป็นวันที่กลางคืนสั้นที่สุด กลางวันยาวที่สุดในซีกโลกเหนือ เริ่มประมาณวันที่ 21-22 มิถุนายน ดวงอาทิตย์ทำมุม 90°

5. เสียวสู่(小暑)แปลว่า ร้อนเล็ก เริ่มประมาณวันที่ 6-8 กรกฎาคม ดวงอาทิตย์ทำมุม 105° อากาศเริ่มร้อน

6. ต้าสู่(大暑)แปลว่าร้อนใหญ่ เริ่มประมาณวันที่ 22-24 กรกฎาคม ดวงอาทิตย์ทำมุม 120° อากาศร้อนขึ้น

Pic Credit to: http://www.oamul.com/the-24-solar-terms/

3 ใบไม้ร่วง

ฤดูใบไม้ร่วง秋天 ชิวเทียน

1. ลี่ชิว(立秋)เริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง เริ่มประมาณวันที่ 7-9 สิงหาคม ดวงอาทิตย์ทำมุม 135°

2. ชู่สู่(处暑)แปลว่า อากาศร้อนสิ้นสุด เริ่มประมาณวันที่ 22-24 สิงหาคม ดวงอาทิตย์ทำมุม 150°

3. ป๋ายลู่(白露)แปลว่าน้ำค้างขาว น้ำค้างเริ่มปรากฏบนใบไม้ อากาศเริ่มเย็นลง เริ่มประมาณวันที่ 7-9 กันยายน ดวงอาทิตย์ทำมุม 165°

4. ชิวเฟิน(秋分)แปลว่า คืนและวันในฤดูใบไม้ร่วงที่ยาวเท่ากัน ตรงกับวัน ศารทวิษุวัตตามดาราศาสตร์สากล ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรครั้งที่สองของปี เริ่มประมาณวันที่ 22-24 กันยายน ดวงอาทิตย์ทำมุม 180°

5. หานลู่(寒露)แปลว่า น้ำค้างหนาว อากาศเริ่มหนาว น้ำค้างตกมากเริ่มประมาณวันที่ 8-9 ตุลาคม ดวงอาทิตย์ทำมุม 195°

6. ซวงเจี้ยง(霜降)แปลว่าน้ำค้างแข็ง พบน้ำค้างแข็งบนใบไม้ เริ่มประมาณวันที่ 23-24 ตุลาคม ดวงอาทิตย์ทำมุม 210°

Pic Credit to: http://www.oamul.com/the-24-solar-terms/

4 หนาว

ฤดูหนาว 冬天 ตงเทียน

1. ลี่ตง(立冬)แปลว่าเริ่มฤดูหนาว เริ่มประมาณวันที่ 7 -8 พฤษจิกายน ดวงอาทิตย์ทำมุม 225°

2. เสียวเสวี่ย(小雪)แปลว่าหิมะเล็ก หิมะเริ่มตกในจีน เริ่มประมาณวันที่ 22-23 พฤศจิกายน ดวงอาทิตย์ทำมุม 240°

3. ต้าเสวี่ย(大雪)แปลว่าหิมะใหญ่ หิมะตกหนักในจีน เริ่มประมาณวันที่ 6, 7 หรือ 8 ธันวาคม ดวงอาทิตย์ทำมุม 255°

4. ตงจื้อ(冬至)แปลว่าช่วงคืนยาวที่สุดในฤดูหนาว ตรงกับวัน เหมายัน ( อ่านว่าเห-มา-ยัน ) ตามดาราศาสตร์สากล เป็นวันที่กลางคืนยาวที่สุดกลางวันสั้นที่สุดในซีกโลกเหนือ เริ่มประมาณวันที่ 21-23 ธันวาคม ดวงอาทิตย์ทำมุม 270° เป็นวันเทศกาลต้มและร่วมกันรับประทานขนมบัวลอยสีแดงสีขาว

5. เสี่ยวหาน(小寒)แปลว่าหนาวเล็ก เริ่มประมาณวันที่ 5-7 มกราคม ดวงอาทิตย์ทำมุม 285°

6. ต้าหาน(大寒)แปลว่าหนาวใหญ่ เริ่มประมาณวันที่ 20-21 มกราคม ดวงอาทิตย์ทำมุม 300° ปักษ์สุดท้ายของฤดูหนาว และปักษ์สุดท้ายของปี อากาศในจีนหนาวจัด ชาวจีนแต่ละภูมิภาคจะมีกิจกรรมต่างกันไป เช่น ผู้คนในกรุงปักกิ่งมีธรรมเนียมที่จะต้องกิน “เค้กคลายหนาว” หรือ “เซียวหานเกา” (消寒糕) ซึ่งเป็นเค้กข้าวชนิดหนึ่ง

Pic Credit to: http://www.oamul.com/the-24-solar-terms/
ที่มา : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=854707688017531&id=817226795098954

เรื่องนี้ถูกเขียนใน Uncategorized และติดป้ายกำกับ , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น